วัสดุโพลีโพรพิลีน (Polypropylene) ทางเลือกใหม่สำหรับห้องปฏิบัติการ
  • 8 มีนาคม 2019 at 13:46
  • 10150
  • 0

วัสดุโพลีโพรพิลีน (Polypropylene)

ทางเลือกใหม่สำหรับห้องปฏิบัติการ

 

เฟอร์นิเจอร์ในห้องปฏิบัติการ (Lab Furniture) ทางเลือกใหม่สำหรับวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP)

ตู้ดูดไอสารเคมี(Fume hood) และตู้เก็บสารเคมี (Chemical storage cabinet) ที่ทำด้วยวัสดุ โพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP)

ขึ้นชื่อว่าวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) สำหรับห้องแล็ปและห้องปฏิบัติการ จะนึกถึงวัสดุนี้ที่ทนสารเคมีอันดับต้นๆ แต่ที่จริงแล้ว วัสดุชนิดนี้นอกจากจะทนสารเคมีแล้ว ยังมีความแข็งแรงทนทาน สามารถเคลื่อนย้ายได้โดย ไม่หักงอง่ายๆ รวมถึงการทนอุณหภูมิสูงๆ ได้ โดยที่มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 160-170 องศาเซลเซียส 

ซึ่งปัจจุบัน ได้รับการยอมรับว่าเป็น เม็ดพลาสติก Food Grade ที่มีความปลอดภัยโดยใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ หลากหลายชนิด เช่น แก้ว จาก ชาม ถุงร้อน ซึ่งสามารถเข้าอบได้สูงถึง 100-120 องศาเซลเซียล และสามารถป้องกันความชื้นไม่ให้ทะลุผ่านบรรจุภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี

ในห้องแล็ปและห้องปฎิบัติการที่มีความชื้น รวมถึงห้องแล็ปชนิดเปียก มีเฟอร์นิเจอร์แล็ป (Lab Furniture), ตู้ดูดไอสารเคมี (Fume hood) และตู้เก็บสารเคมี (Chemical storage cabinet) ที่ทำด้วยวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) จะเหมาะสมเป็นอย่างมากเพราะนอกจากจะทนต่อสารเคมีแล้ว ยังทนต่อน้ำ, ทนต่อความชื้น และไม่ต้องกังวลเรื่องการเกิดสนิม เพราะทุก Part จะทำด้วยวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) ทั้งหมดไม่มี Part ของโลหะเลย เช่น

  • มือจับ
  • บานพับ
  • รางเลื่อนลิ้นชัก หรือสกรู

ทำด้วยวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) ทั้งหมด รวมถึงวัสดุชนิดนี้ยังมีคุณสมบัติในการต้านทานไฟฟ้าไม่เป็นสื่อกลางการนำไฟฟ้าอีกด้วย จึงทำให้ผู้ปฎิบัติการในห้องแล็ปหมดความกังวลใจในเรื่องของไฟฟ้ารั่วที่โต๊ะปฎิบัติการอีกด้วย

ในส่วนห้องแล็ป ที่มีความร้อนสะสมจากสภาวะแวดล้อมจากภายนอกและภายใน เช่น รวมความร้อนจากเครื่องมืออุปกรณ์ (Heat load) เช่น Oven,Hot plate,Autocalve จะมีผลต่อเฟอร์นิเจอร์ที่ทำด้วยวัสดุไม้ ซึ่งมีโอกาสที่จะ กรอบ แตก และกร่อนได้ และอาจมีผลทำให้หน้าบานประตูหลุดชำรุดได้ แต่ถ้าเป็นวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) จะแก้ปัญหานี้ได้เป็นอย่างดี ถึงแม้จะมีการรื้อย้ายไปติดตั้งที่ใหม่ก็ไม่ทำให้วัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) นี้เสียหายได้ง่ายๆ เลย

วัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) ได้รับการยอมรับ ว่าเป็น Food Grade สามารถสัมผัสกับอาหารได้โดยตรง โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย จึงเหมาะที่จะเป็นวัสดุที่ควรอยู่ในห้องแล็ปหรือห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการปนเปื้อนและไม่มีโอกาสเกิด contamination จากฝุ่นผง, ละอองของวัสดุที่ทำจากไม้

คุณสมบัติที่โดดเด่น ของวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) ยังไม่หมดสิ้นเท่านี้ นอกจากใช้ผลิตเป็นเฟอร์นิเจอร์แล็ป (Lab Furniture), ตู้ดูดไอสารเคมี (Fume hood) และตู้เก็บสารเคมี (Chemical storage cabinet) ที่ทำด้วยวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP)  เพราะในอนาคตจะมีการนำวัสดุชนิดนี้ไปทำประโยชน์ได้อีกมากมายหลากหลาย จึงถือว่าวัสดุโพลีโพรพิลีน Polypropylene (PP) เป็นทางเลือกที่ไม่ควรมองข้ามในอนาคตเลยทีเดียว