ออกซิเจน

DO Parameter

หากพูดถึงคำว่า “ออกซิเจน” คงไม่มีใครไม่รู้จักคำนี้ เพราะสิ่งมีชีวิตต่างๆที่อาศัยอยู่ทั้งในน้ำ และ บนบกต่างมีความต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิตกันทั้งนั้น และคุณรู้หรือไม่ว่า น้ำที่ดีที่เหมาะแก่การดำรงชีวิตของสัตว์น้ำนั้น ควรมีค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO) ไม่ต่ำกว่า 5 ppm และนอกเหนือจากการวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO) จะสามารถบ่งชี้ถึงปริมาณค่าออกซิเจนในการหายใจเพื่อความอยู่รอดของสัตว์น้ำแล้วยังสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพน้ำได้อีกด้วย จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นหลายๆโรงงาน มีการติดตั้ง หรือ มีการใช้เครื่องสำหรับการวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำเพื่อบ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำทิ้งของโรงงานนั้นๆ  

โดยปกติแล้วเราสามารถวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO) ได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นวิธี azide modification of iodometric และ วิธี membrane electrode ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงวิธีการวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO) ตามวิธี เมมเบรน อิเล็กโทรด ซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีที่ ไม่ยุ่งยาก ทราบผลได้อย่างรวดเร็ว และที่สำคัญไม่ต้องใช้สารเคมี จำพวก แมกนีเซียมซัลเฟต กรดซัลฟามิก หรือ กรดซัลฟูริก* ในการวัดค่าเลย โดยเราสามารถใช้เครื่องวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO meter) ยี่ห้อ Horiba รุ่น DO110 แบบพกพา หรือ ยี่ห้อ Eutech รุ่น DO2700 แบบตั้งโต๊ะ เพื่อวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO)ได้เลย โดยหลักการของเครื่องที่กล่าวมานั้นจะเป็นการวัดปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำ(DO) โดยวิธีการใช้เมมเบรนอิเล็กโทรด สำหรับหลักการการวัดปริมาณออกซิเจน จะใช้หลักการเกิดกระแสเมื่อมีการออกซิไดซ์ที่ Anode โดยออกซิเจนที่ซึมผ่านเมมเบรนเข้ามาภายใน Sensor Compartment  โดย Sensor Compartment จะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน คือ เมมเบรน จะเป็นส่วนที่หุ้มอยู่ด้านนอกและเป็นช่องทางที่จะให้ออกซิเจนโมเลกุลซึมผ่านเข้ามาภายใน และภายในเมมเบรนจะมีขั้วแคโทด และชั้วอะโนดอยู่ภายใน และขั้วทั้งสองจะจุ่มอยู่ในสารละลายอิเลคโตรไลท์* และเพื่อให้เครื่องวัดค่าออกซิเจนละลายในน้ำ(DO meter) ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้งานจึงควรมั่นตรวจสอบปริมาณอิเลคโตรไลท์ อย่างสม่ำเสมอ 

** Reference 

“การวิเคราะห์ปริมาณออกซิเจนละลายและบีโอดี” โดย ไพฑูรย์ หมายมั่นสมสุข 

“การตรวจวัดออกซิเจนที่ละลายในน้ำ” โดย สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี