Jartest เพื่อการตกตะกอน
  • 27 มิถุนายน 2017 at 11:21
  • 41686
  • 0

Jartest เพื่อการตกตะกอน

 

การสร้างตะกอน เป็นกระบวนการทําให้ อนุภาคแขวนลอยขาดเสถียรภาพ การเติมสารเคมีในน้ำที่ทําให้  เนื่องจากลักษณะสมบัติ ของน้ำในธรรมชาติ ที่เปลี่ยนแปลงตามเวลาและสถานที่การใช้ สารเคมีในปริมาณที่เหมาะสม จึงต้องอาศัยการทดสอบที่เรียกว่า “ Jar Test ” ซึ่งเป็นการทดสอบหาเงื่อนไข ที่ความเหมาะสมของการเติมและผสมสารเคมี สําหรับการตกตะกอนและ ใช้กันแพร่ หลายในโรงประปา

อุปกรณที่ใช้ ในการทํา Jar Test ส่วนใหญ่เป็นชุดของอุปกรณ์ ที่สามารถทํางานพร้อมกันในการทดลองเดียว

ซึ่งการทํา Jartest มีประโยชน์หลายประการ คือ

  1. เปรียบเทียบผลของการใช้ สารเคมีสร้างตะกอน (ความเข้มข้น , ชนิดของสารเคมี)
  2. หาค่า pH (พีเอช) ที่เหมาะสม
  3. การเติมและควบคุมความเป็นด่าง
  4. ระยะเวลาที่ใช้ในการ เกิดตะกอน
  5. เงื่อนไขที่เหมาะสมด้านพลังงานที่ ใช้ในการกวนเร็ว และกวนช้า
  6. การทดสอบอื่น ๆ เช่น ค่า zeta potential (electrophoretic mobility)

ก่อนการทํา JarTest ควรวิเคราะห์น้ำตัวอย่าง เบื้องต้น เช่น วัดค่า pH ความขุ่น ความเป็นกรด-ด่าง เป็นต้น  และควรเลือกใช้เครื่อง JarTester ที่เหมาะกับการวิเคราะห์มีแสงไฟจากหลอด LED ไม่มีความร้อนมาเร่งปฏิกิริยาทำให้การทดลองแม่นยำ และมีระบบการควบคุมที่ดีสามารถตั้งโปรแกรมการทำงานและสามารถนำไปใช้งานได้นอกสถานที่มีแบตเตอร์รี่ในตัว เช่น Jartest ยี่ห้อ Wizard รุ่น PLUS6 ร่วมกับสารช่วยสร้างตกตะกอนซึ่ง มีหลายชนิด สารบางประเภทเป็นที่ นิยมสารบางชนิดอาจมีข้อจํากัดในการใช้  สารบางชนิดมีราคาแพง การเลือกใช้สารชนิดใดเป็นประเด็นที่ ผู้ดูแลระบบประปาแต่ละแห่งต้องพิจารณา เพราะปัจจัยที่ มีผลต่อความสามารถในการสร้างตะกอนส่วนใหญ่จะแตกต่างกัน เช่น ลักษณะสมบัติของน้ำเสีย ค่าใช้จ่ายวิธีกําจัดกับเศษตะกอนที่เกิดขึ้นประสิทธิภาพในการกําจัดความขุ่น เช่น สารช่วยสร้างตะกอนประเภทที่เป็นสารประกอบของอลูมิเนียมและเหล็กมีใช้กันแพร่หลายในขณะที่สารประเภทโพลี อลูมิเนียมคลอไรด์  [PACL – Al(OH)x(Cl)] มีประสิทธิภาพดี ในการจับอนุภาคแขวนลอยขนาด 1-2 ไมครอน และช่วยจับตะกอนได้ เร็วกว่า แต่ปัญหาคือค่าใช้ จ่ายสูงกว่าประมาณสองเท่าของการใช้สารส้ม